พิชิตพลังงานด้วยการเดินทางมาด้วยกัน

พิชิตพลังงานด้วยการเดินทางมาด้วยกัน

พิชิตพลังงานด้วยการเดินทางมาด้วยกัน

พิชิตพลังงานด้วยการเดินทางมาด้วยกัน

พลังงาน

พลังงานเป็นสิ่งจำเป็นของมนุษย์ในโลกปัจจุบันและทวีความสำคัญขึ้นเมื่อโลกยิ่งพัฒนามากยิ่งขึ้น แหล่งพลังงานค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นแหล่งพลังงานที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีในการผลิตมากยิ่งขึ้น จากน้ำมันปิโตรเลียมไปเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานหลายประเภทด้วยกัน แต่อาจจะมีในปริมาณค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ บางครั้งวิกฤตการณ์ของโลกอาจจะทำให้ประเทศไทยได้รับอิทธิพลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้เพราะประเทศไทยยังต้องมีการสั่งน้ำมันเข้าเป็นจำนวนมาก

1. น้ำมันปิโตรเลียม

ประเทศไทยมีน้ำมันปิโตรเลียมในแหล่งต่าง ๆ ที่พิสูจน์แล้วไม่น้อยกว่า 174 ล้านบาร์เรล ได้แก่ น้ำมันจากอ่าวไทย (เช่น แหล่งเอราวัณ แหล่งสตูล) อำเภอฝาง และแหล่งสิริกิติ์ จังหวัดกำแพงเพชร และคาดว่าจะต้องค้นพบอีกหลาย ๆ แห่ง เช่น บริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี สุราษฎ์ธานี ซึ่งคาดว่าจะพบอีกไม่น้อยว่า 100 ล้านบาร์เรล เนื่องจากสภาพทางธรณีวิทยามีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นแอ่งสะสมน้ำมันปิโตรเลียม ในปัจจุบันประเทศไทยยังต้องสั่งเข้าน้ำมันปิโตรเลียมเป็นอัตราส่วนสูง เนื่องจากการผลิตในประเทศไทยยังต่ำกว่าปริมาณการใช้มาก การขุดเจาะและผลิตน้ำมันปิโตรเลียม จะก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมได้เช่นเดียวกับโครงการอื่น ๆ ผลที่จะเกิดขึ้นอาจจะมาจากวัสดุที่ใช้หล่อลื่นในการขุด (Drilling fluid) การระบายน้ำเค็ม ที่มีความเค็มสูงมากจากหลุมเจาะ และมีสารบางประเภทที่เป็นพิษปะปนออกมาด้วย เช่น ปรอท แคดเมียม โครเมียม เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วการจัดการกับบ่อภายหลังสิ้นสุดการนำน้ำมันปิโตรเลียมมาใช้ประโยชน์ก็มีความสำคัญต่อสภาพความมั่นคงของพื้นที่ที่อยู่โดยรอบบ่อน้ำมัน

2. ก๊าซธรรมชาติ

นับเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของประเทศไทยในปัจจุบันปริมาณของก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยที่พิสูจน์แล้วทั้งหมดมากกว่า 100 พันล้านลูกบาศก์เมตร และโอกาสที่จะพบเพิ่มเติมมีโอกาสสูงมากโดยเฉพาะในบริเวณอ่าวไทยซึ่งการผลิตก๊าซธรรมชาตินั้น สามารถนำมาผลิตเป็นมีเธน อีเทน และแอลพีจี ซึ่งใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับไฟฟ้าเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้มและยานพาหนะ ก๊าซธรรมชาติเมื่อผ่านเข้ากระบวนการผลิตจะแยกได้ผลพลอยได้อย่างหนึ่งปนมากับก๊าซที่อยู่ในรูปของละอองน้ำมัน เรียกว่า ก๊าซธรรมชาติเหลว (Condensate) ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนเบนซินธรรมชาติ สามารถนำไปผสมกับน้ำมันดิบ เพื่อกลั่นเป็นน้ำมันเบนซินได้ นอกจากนั้นแล้วในแหล่งต่าง ๆ ในอ่าวไทย ยังมีก๊าซธรรมชาติเหลวปะปนอยู่ในแอ่งก๊าซธรรมชาติด้วย ดังนั้นก๊าซธรรมชาติจึงนับว่าเป็นแหล่งพลังงานของประเทศไทยที่มีความสำคัญ ส่วนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับการดำเนินการเพื่อขุดเจาะและผลิตน้ำมันปิโตรเลียม

พลังงาน

พลังงาน

3. ถ่านหินลิกไนต์

ประเทศไทยมีแหล่งถ่านหินลิกไนต์รวมทั้งหมด 72 แหล่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่ที่มีการนำมาใช้ในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่อยู่ภาคเหนือและภาคใต้ แอ่งที่จัดว่ามีปริมาณถ่านหินลิกไนต์มากได้แก่ แอ่งแม่เมาะ แอ่งกระบี่ ซึ่งได้มีการนำมาผลิตกระแสไฟฟ้า นับเป็นเวลานานแล้ว ส่วนแหล่งอื่น ๆ ที่สำรวจแล้วแต่ยังไม่มีการดำเนินการเพื่อนำถ่านหินมาใช้ ได้แก่ แอ่งสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา แอ่งสินปุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่นับว่าเป็นแหล่งที่มีถ่านหินลิกไนต์สะสมเป็นจำนวนมหาศาล การใช้ประโยชน์ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะผลิตกระแสไฟฟ้า ยกเว้นเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ ที่มีเอกชนเข้ามาเปิดดำเนินการ เพื่อนำถ่านหินลิกไนต์ไปใช้ประโยชน์ให้ความร้อนในทางอุตสาหกรรม หากประเทศไทยมีการใช้ถ่านหินปีละประมาณ 50 ล้านตัน เมื่อเทียบอัตราการใช้ในปัจจุบันแล้ว อายุการใช้ถ่านหินของประเทศไทยจะใช้งานได้ประมาณ 25 ปี นับว่าเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งของประเทศ การนำแร่ถ่านหินลิกไนต์มาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อมได้ ในอากาศจะมีปริมาณของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่สลายออกจากถ่านหินเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านฝนกรดได้ ส่วนการทำเหมืองจะก่อให้เกิดมลภาวะทางน้ำ โดยเฉพาะน้ำบาดาล ซึ่งจะเป็นปัญหาที่จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน

4. พลังน้ำ

การผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยอาศัยพลังน้ำ โดยการสร้างเขื่อนนั้น เป็นวิธีการซึ่งให้ได้มาซึ่งพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการสร้างเขื่อนอเนกประสงค์ โดยหลักแล้วเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อนแรกได้แก่ เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และต่อมาเขื่อนก็ถูกสร้างขึ้นมาเรื่อย ๆ เช่น เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุดรดิตถ์ เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น พลังน้ำจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าในราคาต้นทุนต่ำ แต่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ควรคำนึงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการสูญเสียเนื้อที่ป่าเป็นจำนวนมหาศาล เพื่อใช้เป็นอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ราษฎรในพื้นที่น้ำท่วมจึงจะต้องอพยพย้ายที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ สัตว์ป่าต่าง ๆ จะสูญเสียที่อยู่อาศัยหรืออาจจะสูญพันธุ์ไปโดยไม่สามารถป้องกันได้ เพราะการอพยพสัตว์ป่าออกจากพื้นที่น้ำท่วมนั้น ไม่สามารถจะโยกย้ายสัตว์ได้ทันทุกชนิด นอกจากนั้นแล้ว แร่ธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่อาจจะถูกทิ้งให้จมอยู่ใต้น้ำ โดยไม่มีโอกาสนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ของประเทศ ทรัพยากรต่าง ๆ เหล่านั้น ไม่สามารถจะประเมินออกมาเป็นตัวเลขได้ซึ่งถ้าหากกระทำได้แล้วอาจจะทำให้ต้นทุนของการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงโดยพลังน้ำ จะมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงกว่าการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยวิธีอื่นต่าง ๆ ในอ่าวไทย ยังมีก๊าซธรรมชาติเหลวปะปนอยู่ในแอ่งก๊าซธรรมชาติด้วย ดังนั้นก๊าซธรรมชาติจึงนับว่าเป็นแหล่งพลังงานของประเทศไทยที่มีความสำคัญ ส่วนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับการดำเนินการเพื่อขุดเจาะและผลิตน้ำมันปิโตรเลียม

 

wind

5. ไม้และถ่าน

แหล่งพลังงานของประเทศด้อยพัฒนาส่วนใหญ่ได้จากชีวมวล อันได้แก่ ไม้ฟืนและถ่าน แต่การใช้ป่าไม้เพื่อผลิตพลังงานนั้น จะก่อให้เกิดการทำลายป่าไม้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกที่ได้มีการหวั่นวิตกอยู่ในปัจจุบัน การนำไม้มาใช้เพื่อเป็นแหล่งความร้อนและพลังงานทำให้ป่าปกคลุมโลกประมาณร้อยละ 20 ลดลงอย่างน่าเป็นห่วง ดังนั้น จึงเป็นการก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมมากมาย และจะต้องใช้พื้นที่อย่างกว้างขวางเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มกับหน่วยความร้อนที่จะได้ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบต่อหน่วยพื้นที่ นอกจากนั้นแล้วจะต้องมีการปลูกพืชขึ้นมาทดแทนอยู่ตลอดเวลา จึงถือว่าไม้และถ่านเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่น่าจะพัฒนาให้มีการใช้ในโลกปัจจุบัน

6. พลังงานรังสีอาทิตย์

ประเทศไทยเป็นประเทศที่จะได้รับรังสีอาทิตย์เฉลี่ยประมาณวันละ 17 เมกะจูลต่อตารางเมตร ซึ่งประเทศไทยได้ใช้ประโยชน์จากรังสีอาทิตย์มานานตั้งแต่ในอดีต เช่น การผลิตเกลือจากน้ำทะเล การตากผลิตผลทางเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง แต่ยังมิได้ประเมินปริมาณรังสีอาทิตย์ที่ประเทศได้ใช้ในแต่ละปี ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อนำรังสีอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น และสามารถจะเก็บสะสมไว้ในรูปของเซลความร้อนที่จะสามารถเรียกใช้ได้ตามเวลาที่ต้องการ นอกจากพลังงานจากรังสีอาทิตย์แล้ว ที่เป็นแหล่งพลังงานจากระบบสุริยจักรวาลอีกอย่างได้แก่ พลังงานลมและพลังงานกระแสน้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งในขณะนี้ในประเทศไทยได้เริ่มทำการศึกษาวิจัย โดยเฉพาะพลังงานลมได้มีสถานีสาธิตและประเมินความเหมาะสมที่จังหวัดภูเก็ต

prayat

7. พลังงานนิวเคลียร์

ประเทศอุตสาหกรรมใช้ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการใช้พื้นที่น้อยให้ปริมาณความร้อนสูง และเป็นการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง โดยจะไม่ได้รับอิทธิพลจากองค์ประกอบนอกระบบ เนื่องจากระบบการผลิตเป็นการควบคุมการทำงานโดยอัตโนมัติแม้แต่ประเทศต่าง ๆ ในเอเซียด้วยกันยังมีโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ เช่น ไต้หวัน มาเลเซีย ปัจจุบันกำลังไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์รวมกันประมาณร้อยละ 20 ของกำลังผลิตของโลก ประเทศไทยได้เคยทำการศึกษาความเหมาะสมเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่อ่าวไผ่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี แต่ปัจจุบันยังไม่มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แต่อย่างใด เนื่องจากมีความไม่มั่นใจในมาตรการป้องกันผลเสียหายที่จะเกิดจากโรงไฟฟ้า การใช้พลังงานนิวเคลียร์อาจจะมีปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ควรได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ เช่น การกำจัดกากเชื้อเพลิง ซึ่งจะต้องมีสถานที่ที่เหมาะสม อาจจะเป็นในทะเลลึกโดยฝังในชั้นหินที่ไม่ซึมน้ำ หรือการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้า แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถที่จะป้องกันแก้ไขได้โดยการวางแผนและการเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม ประเทศไทยจึงควรพิจารณาการใช้พลังงานนิวเคลียร์ไว้เป็นทางเลือกสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าในอนาคตแทนการสร้างเขื่อนซึ่งอาจจะมีปัญหาการใช้พื้นที่ หรือการใช้ถ่านหินที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบมลพิษด้านอากาศ

8. หินน้ำมัน

หินน้ำมันในประเทศไทยจากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณี พบว่า มีการสะสมตัวเป็นจำนวนมากในบริเวณจังหวัดตาก ซึ่งประเมินปริมาณสำรองเบื้องต้นประมาณ 21,000 ล้านตัน โดยจะมีน้ำมันดิบปะปนอยู่ประมาณ 6,700 ล้านบาร์เรล ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศแล้ว ปริมาณน้ำมันที่สะสมอยู่ในชั้นหินของประเทศไทยค่อนข้างต่ำ โดยเฉลี่ยแล้วร้อยละ 28 อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีของการแยกน้ำมันออกจากหินน้ำมันยังไม่ก้าวหน้าเพียงพอทำให้อัตราการคืนตัวต่ำ ในขณะเดียวกับราคาต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง ทำให้ศักยภาพของการนำหินน้ำมันมาใช้เป็นแหล่งพลังงานในอนาคตค่อนข้างต่ำ และไม่คุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตน้ำมันปิโตรเลียมปัจจุบันนั้น ไม่สามารถจะโยกย้ายสัตว์ได้ทันทุกชนิด นอกจากนั้นแล้ว แร่ธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่อาจจะถูกทิ้งให้จมอยู่ใต้น้ำ โดยไม่มีโอกาสนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ของประเทศ ทรัพยากรต่าง ๆ เหล่านั้น ไม่สามารถจะประเมินออกมาเป็นตัวเลขได้ซึ่งถ้าหากกระทำได้แล้วอาจจะทำให้ต้นทุนของการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงโดยพลังน้ำ จะมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงกว่าการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยวิธีอื่น ๆ

น้ำมัน (Gasoline) – แหล่งพลังงานของมนุษยชาติ

น้ำมัน

น้ำมัน

“น้ำมันเบนซิน” ที่คนไทยเราเรียกกันนั้น ในภาษาอังกฤษ(อเมริกัน)ใช้คำว่า Gasoline หรือ Gasolene ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับ ก๊าซ หรือ แก็ส อะไรทั้งนั้น แต่สำหรับคำว่า “เบนซิน” ที่คนไทยเรียกกันนั้น แท้จริงแล้วคือส่วนผสมปริมาณเล็กน้อยเท่านั้นที่ผสมอยู่ในน้ำมัน ซึ่งมีผลกับค่าออกเทน (โดยจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป) ในบทความนี้จะขอใช้คำว่า “น้ำมันเบนซิน” ในความหมายของน้ำมันแก็สโซลีน (Gasoline) เพื่อเข้ากับความคุ้นเคยของคนไทย

ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอุตสาหกรรมทั่วโลก น้ำมันถือว่าเป็นของเหลวที่มีค่ามาก มันมีค่าในทางเศรษฐกิจพอๆ กับเลือดในร่างกายของคนเรา หากปราศจากน้ำมันเบนซิน (รวมทั้งน้ำมันดีเซลด้วย) โลกทั้งโลกอาจจะหยุดหมุนได้ (ในความหมายของการดำเนินชีวิตประจำวัน) ประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวมีการบริโภคน้ำมันเบนซินถึง 130,000 ล้านแกลลอน (ประมาณ 500,000 ล้านลิตร) ในแต่ละปี

แล้วในน้ำมันเบนซินมันมันมีอะไรหล่ะถึงได้มีความสำคัญมากนัก? ในบทความนี้จะทำให้คุณได้เข้าใจว่าน้ำมันเบนซินคืออะไร และมาจากไหน

hydrocar

น้ำมันเบนซินคืออะไร?
น้ำมันเบนซินเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Aliphatic Hydrocarbon หรือก็คือโมเลกุลที่ประกอบไปด้วยไฮโดรเจน (Hydrogen) และ คาร์บอน (Carbon) ที่ต่อกันเป็นสายโซ่ โมเลกุลของน้ำมันเบนซินจะมีคาร์บอน 11 ตัวในแต่ละสายโซ่ นี่คือตัวอย่างของโมเลกุล Hydrocarbon (ประกอบไปด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอน) ที่ต่อกันเป็นสายโซ่

ชนิดของโมเลกุลต่างๆ ที่พบในน้ำมันเบนซิน

เมื่อคุณทำการเผาไหม้น้ำมันเบนซินภายใต้สภาวะอุดมคติ คือมีปริมาณออกซิเจน (Oxygen) มากเพียงพอ จะได้ก็าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) (ซึ่งก็มาจากคาร์บอนอะตอมในน้ำมันเบนซิน) และได้น้ำ (จากไฮโดรเจนอะตอม) และพลังงานความร้อนปริมาณมาก ประมาณว่าน้ำมันเบนซิน 1 แกลลอนจะให้พลังงานได้ 132×106 จูล ซึ่งเท่ากับ 125,00 BTU หรือ 36,650 วัตต์-ชั่วโมง

หายังนึกปริมาณของพลังงานดังกล่าวไม่ออก เราพอจะประมาณได้ว่า
– ทำการเปิดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ให้ความร้อนอย่าง ฮีตเตอร์ ขนาด 1,500 วัตต์ตลอดเวลา เป็นเวลา 24 ชม. นั่นคือปริมาณความร้อนที่จะได้จากการเผาไหม้น้ำมันเบนซิน 1 แกลลอน
– ถ้าสมมติว่าคนเราสามารถย่อยน้ำมันเบนซินได้ น้ำมันเบนซินจะมีพลังงานสูงถึง 31,000 แคลอรี หรือเท่ากับการกินแฮมเบอร์เกอร์ของ McDonalds ประมาณ 110 ชิ้น!

น้ำมันเบนซินมาจากไหน?
น้ำมันเบนซิน ผลิตมาจากน้ำมันดิบ (crude oil) น้ำมันดิบนี้จะถูกดูดขึ้นมาจากพื้นโลก มีลักษณะเป็นของเหลวสีดำ เรียกว่า ปิโตเลียม (Petroleum) ของเหลวชนิดนี้ประกอบไปด้วยไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon) และคาร์บอนอะตอมในน้ำมันดิบจะเชื่อมต่อกันเป็นสายโซ่ที่มีความยาวแตกต่างกัน

โมเลกุลของไฮโดรคาร์บอนที่มีความยาวแตกต่างกันนั้น จะมีคุณสมบัติและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น สายโซ่ที่มีคาร์บอนเพียง 1 อะตอม (CH4) จะเป็นโซ่ที่เบาที่สุด ซึ่งก็คือ มีเทน (Methane) มีเทนเป็นก๊าซที่มีน้ำหนักเบามาก สามารถลอยได้พอๆ กับ ฮีเลียม (Helium) และเมื่อสายโซ่มีความยาวมากขึ้น มันก็จะมีน้ำหนักมากขึ้นด้วย

สายโซ่ 4 สายแรกคือ CH4 (Methane), C2H6 (Ethane), C3H8 (Propane) และ C4H10 (Butane) ทั้งหมดนี้จะอยู่ในรูปของก๊าซ และมีจุดเดือดอยู่ที่ -161, -88, -46 และ -1 องศาฟาเรนไฮด์ตามลำดับ (หรือ -107, -67, -43 และ -18 องศาเซลเซียส) สายโซ่ที่มีความยาวมากขึ้นถึง C18H32 จะมีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง และสายโซ่ที่มีคาร์บอนอะตอมมากกว่า 19 ตัวขึ้นไปจะมีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง

ด้วยความแตกต่างของความยาวของสายโซ่นี้จะมีผลต่อจุดเดือดของมันด้วย โดยสายโซ่ที่มีความยาวมาก ก็จะมีจุดเดือดที่สูงขึ้นด้วย ดังนั้นเราสามารถแยกสายโซ่แต่ละความยาวออกจากกันได้โดยการ “กลั่น” โดยการกลั่นในลักษณะนี้อยู่ในรูปของ “การกลั่นน้ำมัน” (Oil Refinery) โดยน้ำมันดิบจะได้รับความร้อนและสายโซ่ที่มีความยาวแตกต่างกันจะถูกดึงออกมาตามลำดับของช่วงอุณหภูมิในการกลายเป็นไอของมัน

สายโซ่ที่มีคาร์บอนอะตอม 5, 6 และ 7 จะมีน้ำหนักเบาและสามารถกลายเป็นไอได้ง่าย ของเหลวเหล่านี้เรียกว่า Naphthas ซึ่งใช้เป็นตัวทำละลายในน้ำยาซักแห้ง, ตัวทำละลายในสีทำให้แห้งเร็ว และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ต้องการการระเหยที่เร็ว

สายโซ่ที่มีคาร์บอนอะตอม 7 ตัว (C7H16) ถึง 11 ตัว (C11H24) จะถูกนำมาผสมกันและใช้เป็นน้ำมันเบนซิน (Gasoline) ซึ่งจะมีการระเหยกลายเป็นไอที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือดของน้ำ นั่นคือเหตุผลว่าถ้าคุณทำน้ำมันเบนซินหกบนพิ้น ทำไมมันถึงระเหยไปได้เร็วนัก

ถัดมาคือ คีโรซีน (Kerosene) อยู่ในช่วงที่มีคาร์บอนอะตอม 12 ถึง 15 ตัว จะนำไปใช้ทำน้ำมันดีเซล (Diesel fuel) และน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับงานหนัก

สำหรับน้ำมันหล่อลื่น น้ำมันพวกนี้จะมีการกลายเป็นไอที่ต่ำกว่าในสภาพอุณหภูมิปกติ ยกตัวอย่างเช่น น้ำมันเครื่องยังคงสามารถทำงานได้ดีตลอดทั้งวันภายใต้อุณหภูมิ 250 องศาฟาเรนไฮด์ (หรือ 121 องศาเซลเซียส) โดยไม่เกิดการระเหยกลายเป็นไอ

น้ำมันมีตั้งแต่น้ำมันที่เบาบางมากๆ ไปจนถึงน้ำมันเครื่องที่มีความหนา และหนามากๆ ในน้ำมันเกียร์ ไปจนถึงกึ่งของแข็งอย่างพวกที่มีลักษณะเป็นไข, วาสซาลีน (Vasoline) ้เป็นต้น

ในสายโซ่ที่มีคาร์บอนอะตอมมากกว่า 20 ตัวจะอยู่ในรูปของแข็งอย่างเช่น ไขขี้ผึ้ง ยางมะตอยซึ่งนิยมนำมาทำเป็นผิวถนน

ทั้งหมดนี้คือความแตกต่างของสารประกอบต่างๆ ที่ได้จากน้ำมันดิบ ซึ่งแตกต่างกันเพียงของความยาวสายโซ่คาร์บอนเท่านั้น!

ออกเทน (Octane) คืออะไร?
หากคุณพอจะทราบเกี่ยวกับเครื่องยนต์ของรถยนต์อยู่บ้าง คุณจะรู้ว่ารถยนต์ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องยนต์เบนซินแบบ 4 จังหวะ โดยในจังหวะหนึ่งที่มีการอัด (compression stroke) ภายในกระบอกสูบจะเต็มไปด้วยอากาศและก๊าซซึ่งถูกอัดให้มีปริมาตรเล็กๆ ก่อนการจุดระเบิดด้วยหัวเทียน ปริมาณของการอัดตัวนี้เรียกว่า อัตราส่วนการอัด (compression ratio) ของเครื่องยนต์ โดยเครื่องยนต์โดยทั่วๆ ไปจะมีอัตราส่วนการอัดอยู่ที่ 8:1

ปริมาณออกเทน (Octane) ของน้ำมันเบนซินจะเป็นตัวบอกว่า น้ำมันเชื้อเพลิงสามารถถูกบีบอัดก่อนที่จะเกิดการจุดระเบิดด้วยตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน เมื่อก๊าซภายในกระบอกสูบเกิดการจุดระเบิดด้วยตัวเองก่อนที่จะถูกจุดระเบิดด้วยหัวเทียน เราเรียกอาการดังกล่าวว่า เครื่องยนต์น็อก (Knocking) การน็อกของเครื่องยนต์จะทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหายได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น ปริมาณออกเทนที่ต่ำ (อย่าง น้ำมันเบนซิน ที่มีค่าออกเทน 87) ความสามารถในการอัดตัวจะทำได้น้อยมากก่อนจะทำการจุดระเบิด

อัตราส่วนการอัดของเครื่องยนต์สามารถบอกค่าออกเทนของน้ำมันที่เครื่องยนต์สามารถใช้งานได้อย่างปกติได้ และวิธีหนึ่งที่จะเพิ่มแรงม้า (Horsepower) ให้กับเครื่องยนต์ก็คือการเพิ่มอัตราส่วนการอัดให้มากขึ้น ดังนั้น เครื่องยนต์ที่มีสมถณะสูง (High Performance Engine) จะมีอัตราส่วนการอัดที่สูงขึ้น และต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีค่าออกเทนสูงขึ้นตามไปด้วย ข้อดีของการที่มี่อัตราส่วนการอัดที่สูงขึ้นคือจะทำให้เครื่องยนต์ของคุณมีแรงม้ามากขึ้นเมื่อเทียบกับน้ำหนักเครื่องยนต์ และนั่นคือแนวความคิดในการสร้างเครื่องยนต์สมถณะสูง (High Performance) แต่ข้อเสียของเครื่องยนต์ที่มีอัตราส่วนการอัดสูงๆ คือค่าใช้จ่ายสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นตามไปด้วย

คำว่า “ออกเทน (Octane)” มาจากความจริงที่ว่า เมื่อทำการกลั่นน้ำมันดิบ ผลลัพธ์ที่ได้คือสายโซ่ของ Hydrocarbon ที่มีความยาวแตกต่างกัน ความแตกต่างของสายโซ่เหล่านี้สามารถแยกออกจากกันและนำมาผสมกันจนได้น้ำมันเชื้อเพลิงต่างๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น มีเทน (Methane), โพเพน (Propane) และ บิวเทน (Buthane) ซึ่งทั้งหมดคือ Hydrocarbon โดยมีเทนจะมีคาร์บอนอะตอมเพียงตัวเดียว, โพเพนมีคาร์บอนอะตอม 3 ตัวที่ต่อกันเป็นสายโซ่, บิวเทนมี 4 ตัว, เพนเทน (Pentane) มี 5 ตัว, เฮกเซน (Hexane) มี 6 ตัว, เฮปเทน (Heptane) มี 7 ตัว และ ออกเทน (Octane) มีคาร์บอนอะตอม 8 ตัวที่ต่อกันเป็นสายโซ่

การอัดตัวของ เฮปเทน (Heptane) ต่ำมาก เมื่อนำมาอัดตัวเพียงเล็กน้อยแล้วจะเกิดการจุดระเบิดด้วยตัวของมันเอง แต่เมื่อนำ ออกเทน (Octane) มาอัดตัว ออกเทนจะมีการอัดตัวที่ดีกว่า กล่าวคือสามารถอัดตัวได้มากๆ โดยไม่มีอะไรเกิดขึ้น น้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทน 87 ก็คือน้ำมันเบนซินที่ประกอบด้วย ออกเทน 87% และ เฮปเทน 13% (หรืออาจจะมีสารประกอบตัวอื่นๆ ที่ผสมเข้ากับน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อให้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87/13 ของ ออกเทน/เฮปเทน) การจุดระเบิดด้วยตัวเองจะเกิดขึ้นที่การอัดตัวอยู่ระดับหนึ่ง ดังนั้นเครื่องยนต์ที่สามารถใช้ได้จะต้องมีอัตราส่วนการอัดตัวไม่ต่ำกว่าระดับนั้น (ถ้าต่ำกว่าก็จะเกิดอาการ Knocking)

สารที่เติมเข้าไปในน้ำมันเบนซิน
ในระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการค้นพบว่า สามารถเติมสารเคมีที่เรียกว่า tetraethyl lead ลงไปในน้ำมันเบนซินได้ซึ่งเป็นการเพิ่มค่าออกเทนให้สูงขึ้นได้อย่างมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตน้ำมันเบนซินถูกลง ด้วยการเติมสาร “ethyl” หรือ “สารตะกั่ว (leaded)” ในน้ำมันเบนซิน ซึ่งนิยมใช้กันอย่างกว้างในขณะนั้น แต่ด้วยการเติมสารตะกั่วลงไปในน้ำมันเบนซิน ทำให้มีผลกระทบที่อัตรายดังนี้

converter

– สารตะกั่วจะถูกกักไว้ที่ตัวกรองไอเสียของเครื่องยนต์ (Catalytic Converter) ซึ่งไม่สามารถทำการกรองสารตะกั่วไว้ได้ และจะถูกปล่อยออกมาภายในไม่กี่นาที
– โลกถูกปกคลุมไปด้วยชั้นของตะกั่วบางๆ ซึ่งตะกั่วเป็นพิษแก่สิ่งมีชีวิตหลายชนิดบนโลก รวมทั้งมนุษย์ด้วย
เมื่อสารตะกั่วถูกยกเลิกให้ใช้ น้ำมันเบนซินจึงมีราคาสูงขึ้นเพราะการกลั่นไม่สามารถเพิ่มค่าออกเทนให้กับน้ำมันที่มีเกรดต่ำลงได้ แต่สำหรับเครื่องบินยังคงอนุญาตให้ใช้น้ำมันเบนซินที่มีสารตะกั่ว ซึ่งมีค่าออกเทนอยู่ที่ 115 โดยใช้กับเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์ลูกสูบประเภท (Super High Performance piston) ในการเผ่าไหม้
สารอีกชนิดหนึ่งที่เข้ามาแทนสารตะกั่วคือสารที่ชื่อว่า MTBE โดย MTBE ย่อมาจาก Methyl Tertiary Butyl Ether ซึ่งก็คือโมเลกุลที่ถูกสร้างมาจาก Methanol

การใช้ MTBE เข้ามาเติมในน้ำมันเบนซินมีอยู่ 2 เหตุผลด้วยกันคือ
– มันช่วยให้ค่าออกเทนสูงขึ้น
– มันจะใส่ออกซิเจนเข้าไป หมายความว่ามันจะเพิ่มออกซิเจนเข้าไปในปฏิกิริยาเมื่อเกิดการเผาไหม้ โดยในสภาวะที่เป็นอุดมคติ ออกซิเจนจะลดการเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของ Hydrocarbon และลดการเกิดคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)
MTBE เริ่มนำเข้ามาใส่ในน้ำมันเบนซินหลังจากงาน Clean Air Act ในปี ค.ศ.1990 ในน้ำมันเบนซินจะมี MTBE อยู่ประมาณ 10% ถึง 15%
ปัญหาหลักของการใช้ MTBE คือมันเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง (carcinogenic) และมันผสมได้ง่ายกับน้ำ หากถังบรรจุน้ำมันเบนซินที่มี MTBE ใต้ดินเกิดการรั่วขึ้น มันสามารถแพร่เข้าสู่แหล่งน้ำใต้ดิน และเกิดการปนเปื้อนได้อย่างง่ายดาย และแน่นอนว่าในน้ำมันไม่ได้มีเพียงสาร MTBE ตัวเดียวเท่านั้นที่จะลงสู่แหล่งน้ำ
สารที่จะมาแทน MTBE ในน้ำมันเบนซินนั่นก็คือ เอทานอล (Ethanol) เอทานอลก็คือแอลกอฮอล (Alcohol) ธรรมดาๆ นี่เอง แม้มันมีราคาแพงกว่า MTBE มาก แต่ก็ไม่เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง

ปัญหาของน้ำมันเบนซิน
ผลจากการเผาไหม้ในเครื่องยนต์น้ำมันเบนซินจะพบปัญหาอยู่ 2 ข้อ ข้อแรกคือผลของการเผาไหม้จะทำให้เกิดกลุ่มหมอกควันในเมืองใหญ่ๆ และข้อสองคือผลที่ได้จะอยู่ในรูปของคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases)
เมื่อรถยนต์เผาไหม้น้ำมันเบนซิน ซึ่งในทางทฤษฎีแล้วมันจะเกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ ผลที่ได้จะไม่มีอะไรมากไปกว่า คาร์บอนได้ออกไซด์ (CO2) และน้ำ แต่ในความเป็นจริงแล้วพบว่า เครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน (Internal Combustion Engine) ไม่เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ ในกระบวนการเผาไหม้น้ำมันเบนซินนั้น มันจะเกิด
– คาร์บอนมอนนอกไซด์ (Carbon monoxide – CO) ซึ่งเป็นก๊าซพิษ
– ไนโตรเจนออกไซด์ (Nitrogen oxides) ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดกลุ่มหมอกควันในตัวเมือง
– Hydrocarbons ที่ไม่เกิดการเผาไหม้
ตัวกรองไอเสีย (Catalytic converters) จะกำจัดมลภาวะเหล่านี้ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น มลภาวะทางอากาศจากรถยนต์และโรงไฟฟ้ายังคงเป็นปัญหาหลักของเมืองใหญ่
คาร์บอน ยังคงเป็นปัญหาภายหลังจากการเผาไหม้ มันจะออกมาในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำมันเบนซินประกอบด้วยคาร์บอนเป็นส่วนใหญ่ ประมาณว่าการเผาไหม้น้ำมันเบนซิน 1 แกลลอนจะปล่อยคาร์บอนออกมาประมาณ 5 ถึง 6 ปอนด์ (หรือ 2.5 กิโลกรัม) สู่บรรยากาศ ในสหรัฐอเมริกาจะมีปริมาณคาร์บอนที่ถูกปล่อยสู่บรรยากาศประมาณ 20,000 ล้านปอนด์ในแต่ละวัน
ถ้าอธิบายง่ายๆ โดยให้คาร์บอนอยู่ในรูปของแข็ง ซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจน มันจะเหมือนกับการปาถุงน้ำตาลขนาด 5 ปอนด์ออกจากหน้าต่างรถยนต์ในทุกๆ การเผาไหม้น้ำมันเบนซิน 1 แกลลอน เพียงแต่คาร์บอน 5 ปอนด์นั้นมันอยู่ในรูปก๊าซที่เรามองไม่เห็นนั่นก็คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide) ซึ่งพวกเราแทบทุกคนสัมผัสกับมันเป็นประจำทุกวันโดยไม่รู้ตัว ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกปล่อยออกมาจากท่อไอเสียรถยนต์ทุกวัน ก๊าซนี้เป็นก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas) ผลกระทบที่รุนแรงยังไม่ทราบได้ในขณะนี้ แต่มันมีผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลก ยกตัวอย่างเช่น ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นจนเกิดน้ำท่วม หรือเกิดการทำลายเมืองตามแนวชายฝั่ง ด้วยเหตุผลนี้ จึงมีการพยายามหาเชื้อเพลิงที่จะมาแทนน้ำมันเบนซินในอนาคต นั่นก็คือ ไฮโดรเจน (Hydrogen)

ประหยัดน้ำมันอนุรักษ์พลังงาน

env1

ในขณะนี้สถานการณ์ราคาน้ำมันเป็นปัญหาสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นอย่างมาก จนถึงขั้นบางคนขายรถทิ้งไปเลยก็มี เนื่องจากราคาน้ำมันในขณะนี้ได้ถีบตัวขึ้นสูงมาก จนทำให้คนใช้รถต้องคิดแล้วคิดอีกในการเติมน้ำมันครั้งนึง บางคนที่มีฐานะร่ำรวยอาจจะไม่รู้สึกถึงตรงนี้เท่าไร แต่คนที่ต้องกินต้องใช้ และจำเป็นต้องใช้รถบ่อยๆเพื่อทำธุรกิจต่างๆ ก็ต้องกลุ้มใจกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงซะจนน่าตกใจ แต่เพราะไม่มีทางเลือกก็ต้องจำเป็นต้องเติมน้ำมัน จนบวกลบคูณหารกับรายได้แล้วอาจจะต้องกุมขมับเลยทีเดียว เพราะถ้าคิดดูเล่นๆแล้วว่าเดือนนึง เราเติมน้ำมันเท่าไรแล้วอาจจะต้องรู้สึกว่า เราโดนปล้นเงินไปหรือเปล่า เงินเดือนที่ได้มาหายไปไหน และตอนนี้ในอีกแง่นึงนอกเหนือจากการเติมน้ำมันเพื่อตัวเองแล้วเราต้องมองถึงน้ำมันที่หลงเหลืออยู่บนโลกใบนี้เพราะเราใช้กันอย่างนี้ไม่นานก็คงหมดไปถึงแม้จะมีพลังงานทดแทนแต่มันก็มีวันหมดเหมือนกัน ทางที่ดีเราทุกคนต้องรู้จักวิธีประหยัดพลังงานเพื่อตัวของคุณเองและโลกทั้งในวันนี้และวันหน้า และตอนนี้เรามีโครงการรวมพลังหาร 2 มีวิธีประหยัดน้ำมัน “ลดพลังงาน เพิ่มพลังเงิน” เพื่อให้คุณผู้ใช้รถใช้ถนนมาร่วมกันประหยัดพลังงานเพื่อตัวเองและประเทศชาติกันแล้ว เราลองมาทำตามวิธีการง่ายๆ ตามหัวข้อดังต่อไปนี้ครับ
– ขับรถในความเร็วที่กฎหมายกำหนด หากขับรถด้วยความเร็ว 90 กม./ชม. แทนการขับรถด้วยความเร็ว 110 กม./ชม. จะประหยัดน้ำมันได้ 25% คิดเป็นเงิน 800 บาทต่อเดือนต่อคัน หรือ 9,600 บาทต่อปีต่อคัน ถ้ารถยนต์จำนวน 7 ล้านคันทั่วประเทศ ขับรถตามกฎหมายกำหนด ประเทศชาติจะประหยัดเงินได้ไม่น้อยกว่า 67,000 ล้านบาท ต่อปี
ความเร็วสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้
– ทางธรรมดา 90 กม./ชม.
– ทางด่วน 110 กม./ชม.
– มอเตอร์เวย์ 120 กม./ชม.

– ตรวจเช็คสภาพรถเป็นประจำ การตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ปีละ 1 ครั้ง สามารถประหยัดน้ำมันได้ 10% คิดเป็นเงินที่ประชาชนประหยัดได้ 250 บาทต่อเดือนต่อคัน คิดเป็นจะประหยัดได้ถึงปีละ 3,000 บาท หากรถ ยนต์เบนซิน จำนวน 3 ล้านคันใน ประเทศไทย ดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว จะช่วยชาติจะประหยัดเงินได้ 9,000 ล้านบาทต่อปีและบำรุงรักษาเครื่องยนต์ การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพดี โดยการเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นเมื่อถึงกำหนด และตรวจสอบรอยรั่วในระบบน้ำมันเชื้อเพลิง จะช่วยประหยัดน้ำมันประมาณร้อยละ 3-9 วิธีการตรวจเช็คที่ควรปฏิบัติดังนี้
– เปลี่ยนไส้กรองตามกำหนด
– เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นทุก 5,000 กม.
– ตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่อง และน้ำในแบตเตอรี่
– ตรวจสอบระดับน้ำป้อนหม้อน้ำ
– ปรับปรุงสมรรถนะรถยนต์ให้ดีตลอดเวลา ช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ ร้อยละ 3- 9
– เติมลมยางไม่ขาดไม่เกิน ตรวจเช็คความดันลมยางสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือทุกๆระยะทาง 500 กิโลเมตรเพราะหากความดันลมยางต่ำกว่ามาตรฐานทุกๆ 1 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว จะสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มร้อยละ 2 และหมั่นทำความสะอาดไส้กรองอากาศ ควรทำความสะอาดไส้กรองอากาศทุกๆ 2-4 สัปดาห์ หรือทุกๆ 2,500 กิโลเมตร เพราะถ้าไส้กรองไม่สะอาดแล้วจะทำให้รถยนต์กินน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 10
– ความดันลมยางอ่อนกว่ามาตรฐาน 1 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ถ้าขับทุกวันเฉลี่ยวันละ 48 กม. ใน 1 เดือน
1. รถยนต์ – สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 2.4 ลิตร
2. รถจักรยานยนต์ – สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 1.2 ลิตร
3. รถบรรทุก – สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 4.2 ลิตร
– ถ้าร้อยละ 30 ของรถแต่ละประเภท ละเลยเช่นนี้บ่อยๆ รวมเป็น 30 วัน/ปี
1. จะสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 5.8 ล้านลิตร
2. คิดเป็นเงิน 87 ล้านบาท
– ถ้าไส้กรองสะอาด จะช่วยลดการสิ้นเปลืองน้ำมันวันละ 65 ซีซี
1. ควรทำความสะอาดทุก 2,500 กม.
2. ควรเปลี่ยนทุก 20,000 กม.
– ไม่ขับก็ดับเครื่อง ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อต้องจอดรถเป็นเวลานาน เพราะการติดเครื่องยนต์จอดรถเป็นเวลาเพียง 10 นาที จะเสียน้ำมันไปฟรีๆ 200-400 ซีซี หรือเสียเงินราว 3.35-7.75 บาท
– ไม่บรรทุกสิ่งของที่ไม่จำเป็น การบรรทุกสิ่งของที่ไม่จำเป็น นอกจากจะสิ้นเปลืองน้ำมันแล้ว ยังทำให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็วกว่าที่ควรด้วย หากขับรถโดยบรรทุกของที่ไม่จำเป็น ประมาณ 10 กิโลกรัม เป็นระยะทาง 25 กิโลเมตร จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 40 ซีซี ถ้าร้อยละ 10 ของรถยนต์ทั่วประเทศ 5 ล้านคัน ขับรถโดยบรรทุกสิ่งของที่ไม่จำเป็นใน 1 ปี จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 7.3 ล้านลิตร คิดเป็นเงิน 10.95 ล้านบาท – ทางเดียวกันไปด้วยกัน (คาร์พูล) ทางเดียวกันไปด้วยกัน หรือ “คาร์พูล” นอกจากจะทำให้จำนวนรถยนต์ในถนนลดลง การจราจรดีขึ้น ใช้เวลาในการเดินทางลดลงแล้ว ยังทำให้คุณภาพอากาศบนถนนดีขึ้น และผลพลอยได้สุดท้ายคือค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางและบำรุงรักษารถยนต์ลดลงอีกด้วย
– ถ้าขับรถยนต์ 5 คัน ไปทางเดียวกัน ที่หมายใกล้กัน ระยะทาง 48 กม./คัน (ไป-กลับ)ใน 1 ปี (260 วันทำงาน) จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 5,200 ลิตร คิดเป็นค่าน้ำมัน 78,000 บาท
– ถ้าร้อยละ 1 ของรถยนต์ 5 ล้านคัน ใช้ Car Pool สลับขับ 5 คน ต่อรถ 1 คัน ใน 1 ปี จะประหยัดน้ำมันได้ 41.6 ล้านลิตร คิดเป็นเงิน 624 ล้านบาท
– จอดรถไว้บ้าน การจอดรถไว้ที่บ้าน เมื่อต้องการเดินทางก็ใช้บริการขนส่งสาธารณะซึ่งปัจจุบันก็สะดวก สบายขึ้นมาก หรือจะอยู่ที่บ้านโดยใช้การติดต่อทางโทรศัพท์ โทรสาร และอินเตอร์เน็ตแทน ก็เป็นหนทางหนึ่งในการลดการใช้น้ำมันของตนเองและของประเทศได้ ถ้าผู้ใช้รถยนต์ร้อยละ 1 จากจำนวน 5 ล้านคัน หันมาใช้บริการรถ สาธารณะ ด้วยระยะทาง 48 กม./วัน ใน 1 ปี (260 วันทำงาน) จะประหยัดน้ำมัน 52 ล้านลิตร คิดเป็นค่าน้ำมัน 780 ล้านบาท
– หลีกเลี่ยงชั่วโมงเร่งด่วน ถ้ารถติดเพียงร้อยละ 1 ของ จำนวนรถยนต์ 5 ล้านคัน ในวันทำงานทุกวัน และในบางเสาร์-อาทิตย์ ใน 1 ปี (330 วัน/ปี) จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 12.4 ล้านลิตร คิดเป็นค่าน้ำมัน 186 ล้านบาท
– ใช้โทรศัพท์-โทรสารเลี่ยงรถติด ใช้อุปกรณ์สื่อสารแทนการเดินทาง เช่น ส่งหนังสือระหว่างหน่วยงาน หากเร่งด่วนก็ใช้วิธีส่งทางโทรสาร หากเป็นเอกสารสำคัญก็ใช้วิธีรวบรวมเอกสารแล้วส่งพร้อมกัน หนังสือเวียนที่ไม่สำคัญก็ใช้วิธีส่ง E-Mail หรือส่งไปรษณีย์
– วางแผนก่อนเดินทาง ถ้าไม่ศึกษาเส้นทางก่อนเดินทาง และขับรถหลงทาง 10 นาทีจะสิ้นเปลืองน้ำมัน 500 ซีซี คิดเป็นค่าน้ำมัน 7.50 บาท ถ้ารถยนต์ 5 ล้านคัน ขับหลงทาง เฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง ใน 1 ปี จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 30 ล้านลิตร คิดเป็นค่าน้ำมัน 450 ล้านบาท

วิธีประหยัดพลังงาน(น้ำมัน)

วิธีการประหยัดพลังงานน้ำมัน

วิธีการประหยัดพลังงานน้ำมัน

วิธีประหยัดน้ำมัน

วิธีการประหยัดน้ำมันทำได้โดย…
1. ตรวจตราลมยางเป็นประจำ เพราะยางที่อ่อนเกินไป ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่ายางที่มีปริมาณลมยางตามที่มาตรฐานกำหนด
2. ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อต้องจอดรถนานๆ แค่จอดรถติดเครื่องทิ้งไว้ 10 นาที ก็เสียน้ำมันฟรีๆ 200 ซีซี
3. ไม่เร่งเครื่องยนต์ตอนเกียร์ว่างหรือเบิ้ลเครื่องยนต์ การกระทำดังกล่าว 10 ครั้ง สูญเสียน้ำมันถึง 50 ซีซี
4. ไม่ควรบรรทุกของหนักเกิน  เพราะเครื่องยนต์จะทำงานตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หากบรรทุกมาก จะทำให้เปลืองน้ำมัน และสึกหรอสูง
5. ใช้ระบบการใช้รถร่วมกัน  ไปไหนมาไหน ที่หมายเดียวกัน  ควรใช้รถคันเดียวกัน
6.  เดินทางเท่าที่จำเป็น เพื่อประหยัดน้ำมัน
7. ไปซื้อของหรือไปธุระใกล้บ้านหรือใกล้ๆ ที่ทำงาน อาจจะเดินหรือใช้จักรยานบ้าง
8. สอบถามเส้นทางที่จะไปให้แน่ชัด หรือศึกษาแผนที่ให้ดีจะได้ไม่หลง ไม่เสียเวลา
9. ควรขับรถด้วยความเร็วคงที่ เลือกขับที่ความเร็ว 70-80กิโลเมตรต่อชั่วโมงที่ 2,000-2,500 รอบเครื่องยนต์ ความเร็วระดับนี้ ประหยัดน้ำมันได้มากกว่า
10. ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งที่ทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้นเช่น การทำให้เกิดการต้านลมขณะวิ่ง หรือทำให้เครื่องยนต์ ไม่สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี
12. ไม่ควรใช้น้ำมันเบนซินที่ออกเทนสูงเกินความจำเป็นของเครื่องยนต์ เพราะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดยเปล่าประโยชน์

13.  หมั่นเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ไส้กรองน้ำมันเครื่อง ไส้กรองอากาศตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อประหยัดน้ำมัน
14. ไม่ควรเร่งเครื่องปรับอากาศในรถอย่างเต็มที่จนเกินความจำเป็นไม่เปิดแอร์แรงๆ  เพราะสิ้นเปลืองพลังงาน

วิธีการพิชิตพลังงานด้วยการเดินทางมาด้วยกัน

s4

1 มาทางเดียวกันก็อาศัยติดรถมาด้วย

2 ไม่บรรทุกของหนัก

3 เดินทางไปด้วยกันก็อาศัยฝากของไปด้วย

3 ปั่นจักรยานไปแทนเมื่อระยะทางที่ใก้ล

คลิปวีดี

ที่มาhttp://www.youtube.com/watch?v=WbMJNK-Eavw

เอกสารอ้างอิง

http://www.eppo.go.th/encon/encon-108-T.html

http://www.unseencar.com/content6.php

http://www.thaigoodview.com/node/86051

http://student.nu.ac.th/science/nature/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%

B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99.htm

http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi2/energy/energy.htm

ใส่ความเห็น